ไม่อยากแพ้ให้กับ PM 2.5 ทำอย่างไร  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอพญาเม็งราย | Smart Site เว็บไซต์สำเร็จรูป






          ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝุ่น PM 2.5 มีระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ตา และผิวหนัง เราจะปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ วันนี้รามาแชนแนลจะมาแบ่งปันวิธีรับมือกับฝุ่นจิ๋ว  PM 2.5 กันค่ะ

PM 2.5 อันตรายแค่ไหน                                                                                                                                                        
          
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน หรือขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม โดยฝุ่น PM 2.5 นั้นเนื่องจากมีขนาดเล็กมากทำให้หลุดรอดการกรองจากจมูกและสามารถผ่านลงไปถึงถุงลมปอดได้เมื่อเราหายใจเช้าไป ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใน และสามารถเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือด และกระจายไปทั่วร่างกายได้ นอกจากนี้ในฝุ่น PM 2.5 มักพบ        สารก่อมะเร็ง และโลหะหนักที่เป็นอันตรายเกาะอยู่ด้วย

อาการและผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
          ระยะสั้น : ทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ผิวหนังอักเสบมีผื่นคันที่ผิวหนัง                                                                                                                                       
          ระยะยาว : การทำงานของปอดแย่ลง    เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย

 วิธีการรับมือกับ PM 2.5 

  • ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ
  • ในบ้านหรืออาคารควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้
  • สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ สวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องออกจากบ้านหรืออาคาร
  • สวมแว่นกันลม กันฝุ่น สวมเสื้อแขนยาวมิดชิด
  • ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคารโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM 2.5 สูง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

 

ข้อมูลโดย
อ. พญ.เนาวรัตน์ ตั้งบำรุงธรรม
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-pm-2-5-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88/