หลากหลาย - ฟาร์มม่วนใจ๋...เชียงราย ชูผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัย  สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย | Smart Site เว็บไซต์สำเร็จรูป





หัวข้อข่าว : หลากหลาย - ฟาร์มม่วนใจ๋...เชียงราย ชูผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัย
เขียนข่าวโดย สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย (ดูทั้งหมด) | พิมพ์ข่าวหน้านี้


ฟาร์มม่วนใจ๋…เชียงราย ชูผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัย คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย เมื่อเต็มอิ่มกับการเป็นมนุษย์เงินเดือนมักออกมาทำอาชีพเกษตร เนื่องจากที่บ้านในต่างจังหวัดมีที่ทาง และส่วนใหญ่ครอบครัวก็ทำเกษตรอยู่แล้ว แต่เป็นเกษตรที่พึ่งพาฝนฟ้าอากาศอย่างเดียว และไม่ได้ทำในเชิงธุรกิจเต็มตัว อย่าง ‘คุณอังสุรีย์ ทองเพ็ชร’ วัย 33 ปี เล่าว่า อดีตพยาบาลที่ตัดสินใจมาเป็นเกษตรกร และเป็นวิทยากรด้านเกษตรให้กับกศน.ต.บัวสลี อ.แม่ลาว จ.เชียงราย เล่าว่า ก่อนหน้านี้ทำงานอยู่หลายจังหวัด รายได้ดีมากเดือนละหลายหมื่นบาท บางวันอยู่เวร 24 ชั่วโมง เงินดีแต่สุขภาพไม่ดี พอวางแผนกลับมาบ้านเกิดที่เชียงราย เลยเริ่มเรียนรู้การทำเกษตรในที่ต่างๆ อาทิ โครงการชั่งหัวมัน จ.เพชรบุรี, โครงการหลวงที่ จ.เชียงใหม่ และหาคอร์สเรียนเกษตรอินทรีย์ ต่อมาเปิดฟาร์มม่วนใจ๋ อยู่ที่บ้านต้นง้าว หมู่ 2 ต.บัวสลี ในเนื้อที่ 1 ไร่ ทำในรูปแบบโรงเรือนใช้โครงสร้างเหล็กมีต้นทุนสูง ลงทุนประมาณโรงเรือนละ 50,000 บาท โดยปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ตอนนี้เน้น ผักขึ้นฉ่าย ช่วงแรกทำเกษตรอินทรีย์ กลางแจ้งได้ผักสวย แต่ก็ใส่ กากน้ำตาลด้วย ทำให้เกษตรกรอินทรีย์ตัวจริงเตือนว่าทำไม่ได้ พอได้ฟังความเห็นแบบนี้ส่วนตัวคิดว่าคงไม่สามารถปลูกอินทรีย์ได้ดีเพราะมีขั้นตอนเยอะ จึงเปลี่ยนมาปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์แทน ช่วงนั้นผักสวย นำไปขายที่โรงพยาบาลและขายตามท้องตลาด มีผักบุ้ง ผักสลัด ผักหัว พวกผักกาดขาว กะหล่ำปลี ปลูกผสมๆ กัน ทั้งนี้ เปลี่ยนมาทำผักไฮโดรโปนิกส์ได้ประมาณปีครึ่ง ปลูกในโรงเรือน ช่วงแรกลองผิดลองถูก สวยบ้างไม่สวยบ้าง กว่าจะเพาะได้กว่า เมล็ดจะงอก ต้องศึกษาเองจากยูทูบ แต่ละเจ้ามีวิธีไม่เหมือนกันต้องนำมาปรับใช้ คุณอังสุรีย์บอกว่า ที่นี่ปลูกผักขึ้นฉ่ายเป็นหลัก เนื่องจากเป็นผักเศรษฐกิจ กินง่ายขายง่าย นอกนั้นมีคะน้า กวางตุ้ง ถ้าเป็นผักตามฤดูกาลพวกสลัด กลุ่มลูกค้ามีน้อยเป็นพวกคนรักสุขภาพ แต่ชาวบ้านไม่กิน ทำให้ขายยากนิดหนึ่ง ช่วงสิ้นปีในเดือนพ.ย. ขายขึ้นฉ่ายได้ในราคาต่ำสุดก.ก.ละ 15-30 บาท เคยส่งราคา 15 บาท เพราะหน้าหนาวผักขึ้นง่าย สูงสุดเคยขายได้ก.ก.ละ 250 บาท ช่วงนี้ขายก.ก.ละ 50 บาท ถือว่าพอได้อยู่ สำหรับระบบผักไฮโดรโปนิกส์เป็นแบบกึ่งน้ำลึก ระบบน้ำไหล โดยใช้ตัวปั๊มมาช่วยด้วย ถ้าเป็นน้ำลึกและไม่มีตัวปั๊ม ออกซิเจนจะน้อย ผักต้องการออกซิเจนในการหายใจและเจริญเติบโต โต๊ะปลูกจะเอียง 45 องศา ใช้ปั๊มปลา 1 ตัว เพื่อหมุนเวียนน้ำ น้ำจะหมุนเวียนเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ผักก็จะโตดี รากจะแข็งแรงด้วย แรกๆ คนแถวนี้ไม่รู้ว่าปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ และไม่ได้สนใจอะไร แต่พอปลูกนานๆ ก็มาดูมาซื้อ ส่วนการขาย เธอว่าการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะมีหลายเจ้าที่ปลูก แม่ค้ามีทางเลือกเยอะ ถ้าของฟาร์มไม่สวยแม่ค้าก็ไม่อยากได้ ยาวเกินก็ไม่ซื้อเพราะเวลาที่มัดขายผักจะหักง่าย ต้องมีความยาวประมาณ 30 ซ.ม. หรือ 1 ไม้บรรทัดกำลังพอดี มีแม่ค้าคนกลางรับของฟาร์มและไปกระจายอีกทอดหนึ่ง ครั้งละ 50-60 ก.ก. บางครั้ง 100 ก.ก.ก็มี ในการปลูกนั้นใช้น้ำประปา แต่ไม่ได้ใช้เยอะ ประมาณ 20 ซ.ม. ผักก็ลอยได้แล้ว ถ้าช่วงอากาศร้อนมากๆ น้ำจะแห้ง เวลาเติมน้ำเสร็จ ต้องคอยวัดค่าปุ๋ยในน้ำด้วย เพราะถ้าสารอาหารไม่ถึง ผักจะไม่โต จะนำต้นกล้าที่เพาะได้ 3 สัปดาห์ลงในน้ำที่ใส่ปุ๋ยสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยใส่ปุ๋ยแค่ครั้งเดียว ใช้เวลาปลูกผักขึ้นฉ่าย 50-55 วัน อังสุรีย์ ทองเพ็ชร และคุณพ่อ ปัญหาในการปลูก เนื่องจากไม่ได้ใช้ยา ฆ่าแมลง มีพวกเพลี้ยและรากเน่า เพลี้ยจะลงผักช่วงมีการทำนา ประมาณเดือนมิถุนายน จะมากับข้าว เพลี้ยจะมุดเข้าด้านใต้โรงเรือน พอเข้ามาออกไม่ได้ ใช้วิธีพ่นน้ำส้มควันไม้หรือยาสูบที่ไม่ใช่สารเคมี เป็นแค่ไล่แต่ออก ไม่ได้ เพราะตาข่ายถี่มาก พอเพลี้ยเข้ามา จะรีบเด็ดใบที่เพลี้ยมาเกาะทิ้งไป นอกนั้นก็มีปัญหาใบไหม้ ต้นไหม้ด้วยในช่วงที่อากาศร้อนมากๆ ส่วนกรณีผักนำเข้าจากจีนเข้ามาตีตลาด เจ้าของฟาร์มม่วนใจ๋ ให้ข้อมูลว่า เริ่มกลางปีที่แล้ว ช่วงนั้นผักไทยขาย 80 บาทต่อก.ก. ของจีนขายไม่ถึง 50 บาทต่อก.ก. ถูกกว่ากันเยอะ ผักของจีนเป็น ผักดิน ต้นใหญ่สวยและยาวมาก เหมือนเซเลอรี รากดีมาก เพราะปลูกดินแดง แต่เท่าที่สอบถามผู้ซื้อบอกว่าผักไทยรสชาติดีกว่า ส่วนใหญ่แม่ค้าไทยก็รับซื้อของถูกกว่า คุณภาพไม่เน้นเท่าไร เรื่องราคาต้อง มาก่อน ทางฟาร์มจึงต้องทยอยส่งตลาดเล็กๆ ขับรถไปส่งไปหาตลาดเอง ขณะที่ผักขายในห้างเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจ้าใหญ่ๆ ที่มี การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สำหรับคนที่อยากปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คุณอังสุรีย์แนะนำว่า อย่าคาดหวังเรื่องความรวดเร็วในการได้เงิน เพราะการทำเกษตร ต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องใช้เวลา แต่ทำได้ในระยะยาว ข้อดีคือ ใช้แรงงานน้อย ใช้แรงงานแค่ 1 คนก็พอ ระหว่างวันแทบไม่ต้อง ทำอะไร ปุ๋ยใส่แค่ครั้งเดียว คอยวัดน้ำ วัดค่าปุ๋ย เวลาตอนที่มีน้ำฝน ผลผลิตของฟาร์มม่วนใจ๋ถือเป็นเกษตรปลอดภัย แต่ไม่ได้อินทรีย์ มีเคมีแค่ตรงปุ๋ย ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่แล้ว แต่พวกพ่นไม่ได้ใส่ลงไป คุณอังสุรีย์บอกด้วยว่า วางแผนไว้จะเลี้ยงปลา เพื่อใช้ขี้ปลา มาทำเป็นปุ๋ย ขณะเดียวกันสามีได้ไปอ่านงานวิจัย เรื่องการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายให้เป็นอาหารปลา คิดว่าจะนำเศษอาหารเศษผักไปเลี้ยง ได้หนอนนำมาให้ปลากิน ได้ขี้ปลาก็นำมากรองอีกทีหนึ่งก่อนใส่ อยากลองทำดู จะได้ลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยด้วย นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่อีกรายที่ทำตั้งแต่ตั้นน้ำ-ปลายน้ำ สนใจพืชผักของฟาร์มม่วนใจ๋ ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 09-2737-0111 ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง


.