นโยบายรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนงนุช เทียนทอง(7+12)  สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย | Smart Site เว็บไซต์สำเร็จรูป





หัวข้อข่าว : นโยบายรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนงนุช เทียนทอง(7+12)
เขียนข่าวโดย สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย (ดูทั้งหมด) | พิมพ์ข่าวหน้านี้


ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ได้มอบนโยบาย และยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงานให้กับผู้บริหารระดับสูง บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานในกํากับ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้ให้เกิดความเชื่อมั่น และสร้างความมั่นใจให้กับสังคม โดยมอบหลักการทํางาน นโยบายหลัก และนโยบายเร่งด่วน ดังต่อไปนี้ ๑. หลักการทํางาน “สร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจให้กับสังคม” หรือ “TRUST” ภายใต้หลักการ ดังนี้ T (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส ทั้งในเชิงกระบวนการทํางานและกระบวนการ ตรวจสอบจากภาคส่วนต่าง ๆ R (Responsibility) หมายถึง ความรับผิดชอบ สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดําเนินการ ตามภารกิจของตนด้วยความรับผิดชอบต่อตัวเอง องค์กร ประชาชน และประเทศชาติ U (Unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ระหว่างครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน S (Student-Centricity) หมายถึง ผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา โดยการทําให้ผู้เรียน มีวิธีคิดและทักษะที่เป็นสากลสอดคล้องกับพลวัตในศตวรรษที่ ๒๑ ควบคู่ไปกับสํานึกและความเข้าใจ ในความเป็นไทย T (Technology) หมายถึง ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ทั้งในเชิงโครงสร้าง (Infrastructure) ได้แก่ สิ่งจําเป็นและสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ําของโอกาสในการศึกษา และในเชิงการเรียนรู้ (Learning) ได้แก่ แหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ที่ทันสมัยช่วยให้ผู้เรียนทุกคน ถึงพร้อมซึ่งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกประการ ๒. นโยบายการจัดการศึกษาทั้ง ๑๒ ข้อ ดังนี้ ข้อ ๑ การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปลี่ยนแปลง ของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย ข้อ ๒ การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพื่อให้ครูและอาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ ทั้งด้านการจัดการเรียนรู้ ด้วยภาษาและดิจิทัล สามารถปรับวิธีการเรียนการสอนและการใช้สื่อทันสมัย และมีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาที่เกิดกับผู้เรียน ข้อ ๓ การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจําวัน เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ ที่สามารถนําไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางผ่านระบบออนไลน์ และการนําฐานข้อมูลกลางทางการศึกษามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา ข้อ ๔ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่งเสริมสนับสนุน สถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษา โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน โดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อกําหนดให้มีระบบบริหารและการจัดการ รวมถึงการจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน มีระบบการบริหารงานบุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ข้อ ๕ การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ พร้อมจัดทดสอบ วัดความรู้ และทักษะที่จําเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ เพื่อให้ระบบการประเมินผลการศึกษาทุกระดับและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ตอบสนองผลลัพธ์ทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม ข้อ ๖ การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม และสร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่น ๆ กระจายทรัพยากรทั้งบุคลากรทางการศึกษา งบประมาณ และสื่อเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง ข้อ ๗ การนํากรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ เป็นการผลิตและการพัฒนากําลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศโดยใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เชื่อมโยงระบบการศึกษาและการอาชีพ โดยใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิต และการจัดทํามาตรฐานอาชีพในสาขาที่สามารถอ้างอิงอาเซียนได้ ข้อ ๘ การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนา ร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนบูรณาการการพัฒนา เด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปเป็นกรอบในการจัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และมีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ ข้อ ๙ การศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาและอาชีวศึกษามีอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมกับการดํารงชีพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้ ข้อ ๑๐ การพลิกโฉมระบบการศึกษาไทย ด้วยการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา เพื่อให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาผ่านระบบดิจิทัล ข้อ ๑๑ การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ข้อ ๑๒ การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดความนิยมในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ (Online) มากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ ต่อการเตรียมผู้เรียนไทยให้มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ (Resilience) รวมถึงปัญหาความปลอดภัยของสถานศึกษา และปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษา ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ๓. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษาธิการ ๑) ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเอง จากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม ๒) หลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ ๓) ฐานข้อมูล Big Data พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ได้ข้อมูล ภาพรวมการศึกษาของประเทศที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ๔) ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษา และตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน ๕) พัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษา ที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ๖) การศึกษาตลอดชีวิต การจัดเรียนรู้ตลอดชีวิตสําหรับประชาชนทุกช่วงวัย ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนในแต่ละช่วงวัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสม และเต็มตามศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ๗) การจัดการศึกษาสําหรับผู้ที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ส่งเสริมการจัดการศึกษา ให้ผู้ที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถดํารงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ


.